ประถมศึกษา 1-6
หลักสูตรระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2
ภาคภาษาไทย
ภาษาไทย | คณิตศาสตร์ | วิทยาศาสตร์ | สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม | ประวัติศาสตร์ | หน้าที่พลเมือง | สุขศึกษาและพละศึกษา | ศิลปะ | การงานอาชีพและเทค โนโลยี
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรม 7 Elegance | กิจกรรมลูกเสือ
ภาคภาษาอังกฤษ
Mathematics | Language | Science | Social | Studies | Phonics | Chinese | Grammar
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ภาคภาษาไทย
ภาษาไทย | คณิตศาสตร์ | วิทยาศาสตร์ | สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม | ประวัติศาสตร์ |
หน้าที่พลเมือง | สุขศึกษาและพละศึกษา | ศิลปะ และ ดนตรี | การงานอาชีพและเทคโนโลยี | ภาษาอังกฤษ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรม MI (Multiple Intelligences) | กิจกรรมลูกเสือ
ภาคภาษาอังกฤษ
Mathematics | Language | Science | Social | Studies | Phonics | Chinese | Grammar
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
ภาคภาษาไทย
ภาษาไทย | คณิตศาสตร์ | วิทยาศาสตร์ | สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม | ประวัติศาสตร์ |
หน้าที่พลเมือง | สุขศึกษาและพละศึกษา | ศิลปะ และ ดนตรี | การงานอาชีพและเทคโนโลยี | ภาษาอังกฤษ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรม MI (Multiple Intelligences) | กิจกรรมลูกเสือ
ภาคภาษาอังกฤษ
Mathematics | Language | Science | Social | Studies | Phonics | Chinese | Grammar
การจัดการเรียนรู้
แผนการเรียนการสอน
จัดการเรียนการสอนในลักษณะ หลักสูตร 2 ภาษา และสามัญ โดยในระดับประถมศึกษา (G. 1-6)
1.หลักสูตร Bilingual Program
2.หลักสูตรสามัญ จะมีการเรียนการสอนเป็นภาคภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
ระดับประถมศึกษา ป.1-6
อัตราส่วนการเรียนภาคไทยและภาษาอังกฤษ 60:40 เพิ่มคาบเรียนในภาคภาษาอังกฤษมากขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพความสามารถในการใช้ภาษา อังกฤษ เพื่อการเรียนรู้และการสื่อสารของนักเรียนให้สูงขึ้น โดยปรับสัดส่วนร้อยละการเรียน ภาคภาษาอังกฤษและภาคภาษาไทยของนักเรียน
การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้วยดนตรี
โรงเรียนได้ส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีให้กับนักเรียน โดยเห็นถึงความสำคัญและ ประโยชน์ของดนตรีว่ามีส่วนช่วยพัฒนาผู้เรียน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา จึงได้ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนในวิชาดนตรีอย่างต่อเนื่องเสมอมา ขอบข่ายเนื้อหาการเรียนการสอนวิชาดนตรี ในระดับประถมศึกษา
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 นักเรียนจะได้เรียนรู้ทฤษฎีดนตรี การอ่าน เขียน ออกเสียงโน้ต รวมถึงทักษะการร้องเพลง และ การปฏิบัติเครื่องมือดนตรีประเภทคีย์บอร์ด โดยคุณครูต่างชาติ
หากนักเรียนต้องการเรียนเครื่องมืออื่นๆ อาจเลือกเรียนเสริมพิเศษนอกเวลาในช่วงเย็นที่โรงเรียน เปิดสอนได้
ทฤษฎีพหุปัญญา
การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้วย MI (Multiple Intelligences)
กิจกรรม MI เป็นกิจกรรมที่นำแนวคิดของทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) ของศาสตราจารย์ โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) มาประยุกต์ใช้บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า นักเรียนแต่ละคนมีความสามารถทางปัญญาที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 8 ด้าน ดังนี้
- ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligences)
- ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligences)
- ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligences)
- ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligences)
- ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligences)
- ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Interpersonal Intelligences)
- ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligences)
- ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligences)
ทางโรงเรียนจึงจัดให้มีการเรียนการสอนและกิจกรรม MI (Multiple Intelligences) ให้กับนักเรียน ทุกคนโดยมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปในแต่ละระดับชั้น โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือค้นหาความสามารถทาง ปัญญาที่เป็นจุดเด่นของนักเรียนแต่ละคน แล้วส่งเสริมพัฒนาความสามารถทางปัญญานั้นให้เด่นชัดยิ่งขึ้น
รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามหลักทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences)
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3
การจัดกิจกรรมมุ่งเน้นให้นักเรียนได้ใช้ทักษะการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับปัญญาด้านต่างๆ ควบคู่กับการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดให้กับนักเรียน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ ที่ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในระดับที่สูงขึ้น จะยังคงไม่เน้นการส่งเสริมปัญญาด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
การจัดกิจกรรมจะยังคงแบ่งเป็นกลุ่มกิจกรรมที่สอดคล้องกับ ปัญญาด้านต่างๆ แต่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เลือกเข้ากลุ่มกิจกรรมตามความสนใจและความถนัดในแต่ละ ระดับชั้น เพื่อให้นักเรียนสามารถค้นพบความถนัดของตนเอง ให้เด่นชัดยิ่งขึ้น โดยนักเรียนจะได้ลงมือปฏิบัติ และนำความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ รวมทั้งทักษะกระบวนการคิดมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานตามความ สามารถและศักยภาพของนักเรียน
กิจกรรม M.I. จึงไม่เป็นเพียงกิจกรรมเสริม แต่เป็นกิจกรรมสำคัญที่ช่วยให้นักเรียนรู้จัก และ เห็นคุณค่าของตนเอง เกิดความภาคภูมิใจและมีความสุขที่ได้ทำในสิ่งที่ตนชอบและถนัด จนสามารถต่อยอด ความชอบและความถนัดนั้น ให้เกิดเป็นความเชี่ยวชาญ จนสามารถสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพของตนเอง ต่อไปในอนาคตได้อย่างแท้จริง